ENG CR :
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เป็นที่พึ่งของสังคม

แผนผังเว็บไซต์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

โทรศัพท์

053-723-979 สนง.คณะฯ 5992

99 หมู่ 10 ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย 57120

สำหรับนักศึกษารหัส 65 เป็นต้นไป วศ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมไฟฟ้า

สำหรับนักศึกษารหัส 65 เป็นต้นไป วศ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมไฟฟ้า

 

หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า

ข้อมูลปีการศึกษา 2565
คณะของหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering
ชื่อหลักสูตร (เต็ม ไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ชื่อปริญญา (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering (Electrical Engineering)
ชื่อปริญญา (เต็ม ไทย) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า)
ชื่อปริญญา (ย่อ Eng) B.Eng. (Electrical Engineering)
ชื่อปริญญา (ย่อ ไทย) วศ.บ.
ระยะเวลาของหลักสูตร ศึกษาปกติ 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งพัฒนาวิชาการควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อผลิตวิศวกรนักปฏิบัติที่มีความรู้ ทักษะและความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า/โทรคมนาคม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และพึ่งพาตนเองได้

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพิ่มผลิตวิศวกร/บัณฑิตนักปฏิบติสำหรับประกอบวิชาชีพวิศวกรรมที่มีความรู้ ทักษะ และความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า/โทรคมนาคม
2. เพื่อผลิตวิศวกร/บัณฑิตนักปฏิบัติให้มีความคิดริเร่ิม มีกิจนิสัยในการค้นคว้า และปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ สามารถแก้ปัญหาด้วยหลักการและเหตุผล ปฏิบัติงานด้วยหลักวิชาการที่มีการออกแบบ วางแผน ควบคุม ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขอย่างรอบคอบ ซึ่งก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงานและพึ่งพาตนเองได้
3. เพื่อผลิตวิศวกร/บัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความขยันหมั่นเพียรและอุตสาหะความสำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

 

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่มีสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาอุตสาหกรรมทุกสาขา หรือหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์
2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือเทียบเท่า โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับ มทร.ล้านนา ที่ประกาศเพิ่มเติม

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. วิศวกรไฟฟ้าประจำโรงงาน
2. พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง
3. พนักงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมไฟฟ้าหรือโทรคมนาคม
4. อาจารย์ทางวิศวกรรมไฟฟ้าในการศึกษาระดับอาชีวศึกษา
5. อาจารย์ทางวิศวกรรมไฟฟ้าในการศึกษาระดับอุดมศึกษา
6. วิศวกรไฟฟ้าหรือโทรคมนาคมสังกัดหน่วยงานต่าง ๆ
7. เจ้าของกิจการด้านระบบไฟฟ้าหรือโทรคมนาคม
8. นักวิชาการด้านไฟฟ้าหรือโทรคมนาคม
9. นักวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไฟฟ้าหรือโทรคมนาคม
10. ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่ายโทรคมนาคม

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษารหัส 66 เป็นต้นไป (เหมาจ่ายเป็นรายภาคการศึกษา)

นักศึกษาภาคปกติ
ภาคการศึกษาปกติ 16,000 บาท ภาคการศึกษาฤดูร้อน 8,000 บาท

หมายเหตุ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรื่อง อัตราการเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2565

ข้อ 6 นักศึกษาทุกหลักสูตร ทุกระดับการศึกษา ทั้งนักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษ ที่ลงทะเบียนรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/ฝึกงาน/สหกิจศึกษา/ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพียงรายวิชาเดียวตลอดภาคการศึกษา โดยไม่ได้ลงทะเบียนรายวิชาอื่นในภาคการศึกษานั้น ให้ชำระเงินค่าบำรุงการศึกษาเหมาจ่ายดังนี้
6.1 ภาคการศึกษาปกติ ภาคการศึกษาละ 9,000 บาท
6.2 ภาคการศึกษาฤดูร้อน ภาคการศึกษาละ 6,000 บาท

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 72,000 บาท

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 9,000 บาท

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน 4,500 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 138 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาทั่วไป
30 หน่วยกิต
1. วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ 24 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาสุขภาพ 3 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาบูรณาการ 9 หน่วยกิต
2. วิชาศึกษาทั่วไปเลือก 6 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ
102 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 51 หน่วยกิต
1.1 วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 11 หน่วยกิต
1.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 40 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 42 หน่วยกิต
2.1 วิชาแกน 12 หน่วยกิต
2.2 วิชาเฉพาะสาขาวิศวกรรม 30 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 9 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
6 หน่วยกิต

 

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง สถานะ รายละเอียด
รองศาสตราจารย์ วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รองศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิวัฒน์ ทิพจร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ ดร. อนุสรณ์ ยอดใจเพ็ชร อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ เพลิน จันทร์สุยะ อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิติพงษ์ สมไชยวงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประกาศิต ศรีทะแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร View

หมวดหมู่ข่าว
ข่าวสารล่าสุด