ENG CR :
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เป็นที่พึ่งของสังคม

แผนผังเว็บไซต์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

โทรศัพท์

053-723-979 สนง.คณะฯ 5992

99 หมู่ 10 ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย 57120

สำหรับนักศึกษารหัส 60-64 วศ.บ.วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ วิชาเอกวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับนักศึกษารหัส 60-64 วศ.บ.วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ วิชาเอกวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

 

หลักสูตรวิศวกรรมอิเล็กทรอกนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ข้อมูลปีการศึกษา 2560
คณะของหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering Program in Electronics Engineering and Automatic Control Systems
ชื่อหลักสูตร (เต็ม ไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ)
ชื่อปริญญา (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering (Electronics Engineering and Automatic Control Systems)
ชื่อปริญญา (เต็ม ไทย) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ)
ชื่อปริญญา (ย่อ Eng) B.Eng. (Electronics Engineering and Automatic Control Systems)
ชื่อปริญญา (ย่อ ไทย) วศ.บ. (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ)
ระยะเวลาของหลักสูตร ศึกษาปกติ 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งมั่นพัฒนาวิชาการควบคู่กับจริยธรรม เพื่อผลิตวิศวกรนักปฏิบัติที่มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และพึ่งพาตนเองได้พร้อมที่จะเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรนิกส์ วิศวกรรมระบบควบคุมอัตโนมัติให้เป็นผู้ที่มีความรู้และความคิดสร้างสรรค์ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ สำหรับการพัฒนาประเทศและพร้อที่จะศึกษาในระดับสูงต่อไป
2. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมระบบควบคุมอัตโนมัติให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการประยุกต์วิทยาการพื้นฐาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง
3. เพื่อส่งเสิรมการวิจัยและพัฒนาในวิชาการสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ
4. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมระบบควบคุมอัตโนมัติให้เป็นผู้ที่มีความคิดและการทำงานอย่างมีระบบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย ต่องต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม สำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพ รับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

 

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึการะดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา หรือหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ โดยให้เป็นไปตามระเบียบหรือประกาศรับสมัครของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ หรือช่างไฟฟ้า หรือช่างไฟฟ้าสื่อสาร หรือช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ หรือเทียบเท่า โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาว่าด้วยการศกึษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม โดยให้เป็นไปตามระเบียบหรือประกาศรับสมัครของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (สำหรับผู้เข้าศึกษาวิชาเอกวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้วิธีการเทียบโอน)
3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ สาขาอุตสาหการหรือเทียบเท่า และต้องสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวชาิชีพ สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาว่าด้วยการศกึษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม โดยให้เป็นไปตามระเบียบหรือประกาศรับสมัครของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (สำหรับผู้เข้าศึกษาวิชาเอกวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้วิธีการเทียบโอน)

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์
2. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานควบคุมอัตโนมัติ
3. นักวิเคราะห์และออกแบบงานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
4. นักวิชาการอิเล็อทรอนิกส์
5. นักวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
6. ผู้จัดการโครงการอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม
7. วิศวกรเมคคาทรอนิกส์
8. นักเขียนโปรแกรมพีแอลซี
9. นักเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 72,000 บาท

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 9,000 บาท

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน 4,500 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 136 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาทั่วไป
30 หน่วยกิต
1. วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ 24 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาสุขภาพ 3 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาบูรณาการ 9 หน่วยกิต
2. วิชาศึกษาทั่วไปเลือก 6 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ
100 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 38 หน่วยกิต
1.1 วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 14 หน่วยกิต
1.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 24 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 47 หน่วยกิต
2.1 วิชาแกน 16 หน่วยกิต
2.2 วิชาเฉพาะสาขาวิศวกรรม 31 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 15 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
6 หน่วยกิต

 

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง สถานะ รายละเอียด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิเชษฐ เหมยคำ ผู้ช่วยศาสตราจารย ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย ดร.วิโรจน์ ปงลังกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิชัย จีนะวงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์สุจิตรา จีนะวงษ์ อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ขจร อนุดิตย์ อาจารย์ อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์นิวัติ นวลกัน อาจารย์ อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ธนวัฒน์ พันธ์ตุ้ย อาจารย์ อาจารย์ผู้สอน

หมวดหมู่ข่าว
ข่าวสารล่าสุด