ENG CR :
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เป็นที่พึ่งของสังคม

แผนผังเว็บไซต์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

โทรศัพท์

053-723-979 สนง.คณะฯ 5992

99 หมู่ 10 ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย 57120

สำหรับนักศึกษารหัส 60-64 วศ.บ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

สำหรับนักศึกษารหัส 60-64 วศ.บ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

 

หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ข้อมูลปีการศึกษา 2560
คณะของหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering
ชื่อหลักสูตร (เต็ม ไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ชื่อปริญญา (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering (Computer Engineering)
ชื่อปริญญา (เต็ม ไทย) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อปริญญา (ย่อ Eng) B.Eng. (Computer Engineering)
ชื่อปริญญา (ย่อ ไทย) วศ.บ.
ระยะเวลาของหลักสูตร ศึกษาปกติ 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งพัฒนาวิชาการควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อผลิตวิศวกรนักปฏิบัติที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับระบบวิศวกรรม สามารถประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน มีจรรยาบรรณในวิชาชีพและพึ่งพาตัวเองได้

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตปฏิบัติการระดับปริยญาตรีให้มีความรู้ที่จะประกอบอาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคุณสมบัติสนองความต้องการในตลาดแรงงานและพัฒนาคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคุณสมบัติสนองความต้องการในตลาดแรงงานและพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งเสริมงานด้านวิจัยและดำเนินงานวิจัยทางอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีดังนี้
1. มีความสามารถในการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่มีคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน
2. มีความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. มีความรัรบผิดชอบในการทำงานของตนเองที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม และคำนึงถึงความปลอดภัย ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระบบ
4. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ เคารพสิทธิส่วนบุคคล ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
5. มีความรู้วิชาแกนของสาชาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ครบถ้วนในระดับการทำงานของระบบ
6. มีประสบการณ์ การออกแบบ สร้าง ผลงาน จากการทำโครงงานวิศวกรรมอย่างน้อยหนึ่งโครงการ
7. มีทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

 

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาช่างอุตสาหกรรมทุกสาขาหรือหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ หรือประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยให้เป็นไปตามระเบียบหรือประกาศรับสมัครของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หรือที่ประกาศเพิ่มเติม
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และต้องสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคมนาคม สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ สาชาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือเทียบเท่าสาขาที่ระบุในประเภทวิชาอุตสาหกรรมงานคอมพิวเตอร์ หรือประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. วิศวกรคอมพิวเตอร์
2. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
3. นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์
4. นักพัฒนาซอฟต์แวร์
5. โปรแกรมเมอร์
6. ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
7. ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์
8. นักพัฒนาเว็บไซต์และสื่อผสม
9. นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุต์ ซึ่งมินได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
10. นักออกแบบและและผู้บริหารฐานข้อมูล ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์
11. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
12. ผู้ประกอบวิาชีพด้านฐานข้อมูลและเครือข่าย ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
13. ผู้จัดการซอฟต์แวร์
14. หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์
15. ผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และรอบบคอมพิวเตอร์ (TPQI)
16. นักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ (TPQI)
17. นักบริหารจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TPQI)
18. นักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอซีที (TPQI)
19. ช่างสนับสนุนด้านเทคนิค (TPQI)
20. นักพัฒนาระบบ (TPQI)
21. นักวิเคราะห์ออกแบบระบบ (TPQI)

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 72,000 บาท

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 9,000 บาท

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน 4,500 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 130 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาทั่วไป
30 หน่วยกิต
1. วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ 24 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาสุขภาพ 3 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาบูรณาการ 9 หน่วยกิต
2. วิชาศึกษาทั่วไปเลือก 6 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ
94 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 32 หน่วยกิต
1.1 วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 10 หน่วยกิต
1.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 22 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 50 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 16 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 12 หน่วยกิต
2.3 กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 3 หน่วยกิต
2.4 กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 10 หน่วยกิต
2.5 กลุ่มฝึกวิชาชีพและโครงงาน 10 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 12 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
6 หน่วยกิต

 

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง สถานะ รายละเอียด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เมตไตรพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ประภาส สุวรรณ อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ปกรณ์ เสรีเผ่าวงษ์ อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

หมวดหมู่ข่าว
ข่าวสารล่าสุด