ENG CR :
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เป็นที่พึ่งของสังคม

แผนผังเว็บไซต์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

โทรศัพท์

053-723-979 สนง.คณะฯ 5992

99 หมู่ 10 ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย 57120

สำหรับนักศึกษารหัส 65 เป็นต้นไป วศ.บ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

สำหรับนักศึกษารหัส 65 เป็นต้นไป วศ.บ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

 

หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ข้อมูลปีการศึกษา 2565
คณะของหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering
ชื่อหลักสูตร (เต็ม ไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ชื่อปริญญา (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering (Computer Engineering)
ชื่อปริญญา (เต็ม ไทย) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อปริญญา (ย่อ Eng) B.Eng. (Computer Engineering)
ชื่อปริญญา (ย่อ ไทย) วศ.บ.
ระยะเวลาของหลักสูตร ศึกษาปกติ 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งพัฒนาวิชาการควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อผลิตวิศวกรนักปฏิบัติที่มีความรู้ ทักษะและความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและวิชาชีพวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพและพึ่งพาตนเองได้

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตปฏิบัติการระดับปริญญาตรีให้มีความรู้ที่จะประกอบอาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคุณสมบัติสนองความต้องการในตลาดแรงงานและพัฒนาคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคุณสมบัติสนองความต้องการในตลาดแรงงานและพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งเสริมงานด้านวิจัยและดำเนินงานวิจัยทางอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีดังนี้
1. มีความสามารถในการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน
2. มีความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. มีความรับผิดชอบในการทำงานของตนเองที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม และคำนึงถึงความปลอดภัย ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระบบ
4. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ เคารพสิทธิส่วนบุคคล ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
5. มีความรู้วิชาแกนของสาชาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ครบถ้วนในระดับการทำงานของระบบ
6. มีประสบการณ์ การออกแบบ สร้าง ผลงาน จากการทำโครงงานวิศวกรรมอย่างน้อยหนึ่งโครงการ
7. มีทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
8. มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ในสาขางานที่เกี่ยวข้อง

 

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. รับผู้สำเร้จการศึกษาระดับมัธยาศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกสาขาวิชา โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. วิศวกรคอมพิวเตอร์
2. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
3. นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์
4. นักพัฒนาซอฟต์แวร์
5. โปรแกรมเมอร์
6. ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
7. ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์
8. นักพัฒนาเว็บไซต์และสื่อผสม
9. วิศวกรเครือข่าย
10. วิศวกรปัญญาประดิษฐ์

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

สำหรับนักศึกษารหัส 66 เป็นต้นไป (เหมาจ่ายเป็นรายภาคการศึกษา)

นักศึกษาภาคปกติ ? ภาคการศึกษาปกติ 16,000 บาท ? ภาคการศึกษาฤดูร้อน 8,000 บาท

หมายเหตุ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรื่อง อัตราการเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2565

ข้อ 6 นักศึกษาทุกหลักสูตร ทุกระดับการศึกษา ทั้งนักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษ ที่ลงทะเบียนรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/ฝึกงาน/สหกิจศึกษา/ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพียงรายวิชาเดียวตลอดภาคการศึกษา โดยไม่ได้ลงทะเบียนรายวิชาอื่นในภาคการศึกษานั้น ให้ชำระเงินค่าบำรุงการศึกษาเหมาจ่ายดังนี้
6.1 ภาคการศึกษาปกติ ภาคการศึกษาละ 9,000 บาท
6.2 ภาคการศึกษาฤดูร้อน ภาคการศึกษาละ 6,000 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาทั่วไป
30 หน่วยกิต
1. วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ 24 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาสุขภาพ 3 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาบูรณาการ 9 หน่วยกิต
2. วิชาศึกษาทั่วไปเลือก 6 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ
99 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 32 หน่วยกิต
1.1 วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 10 หน่วยกิต
1.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 22 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 55 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 14 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 8 หน่วยกิต
2.3 กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 9 หน่วยกิต
2.4 กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 3 หน่วยกิต
2.5 กลุ่มฝึกวิชาชีพและโครงงาน 11 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 12 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
6 หน่วยกิต

 

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง สถานะ รายละเอียด
อาจารย์นุรักษ์ ไชยศรี อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เมตไตรพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ประภาส สุวรรณ อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ปกรณ์ เสรีเผ่าวงษ์ อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ณัฐพล อุ่นยัง อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

หมวดหมู่ข่าว
ข่าวสารล่าสุด