ENG CR :
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เป็นที่พึ่งของสังคม

แผนผังเว็บไซต์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

โทรศัพท์

053-723-979 สนง.คณะฯ 5992

99 หมู่ 10 ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย 57120

สำหรับนักศึกษารหัส 65 เป็นต้นไป วศ.บ.วิศวกรรมอุตสาหการ วิชาเอกวิศวกรรมอุตสาหการ

สำหรับนักศึกษารหัส 65 เป็นต้นไป วศ.บ.วิศวกรรมอุตสาหการ วิชาเอกวิศวกรรมอุตสาหการ

 

หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ข้อมูลปีการศึกษา 2565
คณะของหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering Program in industrial Engineering
ชื่อหลักสูตร (เต็ม ไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
ชื่อปริญญา (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering (Industrial Engineering)
ชื่อปริญญา (เต็ม ไทย) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)
ชื่อปริญญา (ย่อ Eng) B.Eng. (Industrial Engineering)
ชื่อปริญญา (ย่อ ไทย) วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)
ระยะเวลาของหลักสูตร ศึกษาปกติ 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มุ่งมั่นพัฒนาวิชาการควบคู่คุณธรรมจริยธรรมและมุ่งผลิตวิศวกรวิชาชีพที่มีความรู้ทางด้านปฏิบัติการพร้อมที่จะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านทฤษฎีเพื่อสามารถออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม และพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่อันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมสมัยใหม่
2. เพื่อผลิตวิศวกรอุตสาหการ ที่มีความสามารถปฏิบติงานเฉพาะด้าน สามารถวางแผนควบคุมการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ การศึกษางานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งนี้ โดยมีความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบ สร้างสรรค์นวัตกรรม และงานวิจัยอุตสาหกรรสมัยใหม่
3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีกิจนิสัยในการค้นความปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการปฏิบัติและการควบคุมงานที่ถูกหลักวิชากรซึ่งจก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างประหยัด รวดเร็ว ตรงต่อเวลาและมีคุณภาพ
4. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม ความมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความซื่อสัตยฺ์สุจริต ขยันหมั่นเพียรความสำนึกใจจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

 

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกาาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมและหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์
2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างกลโรงงาน ช่างกลโลหะ ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น ช่างท่อประสาน ช่างโลหะ ช่างแม่พิมพ์ ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ช่างเขียนแบบเครื่องกล ช่างซ่อมบำรุง หรือเทียบเท่า ตามข้อบังค้บมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับ มทร.ล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. วิศวกรควบคุม
2. วิศวกรความปลอดภัย
3. วิศวกรประจำโรงงาน
4. วิศวกรระบบการผลิต
5. วิศวกรซ่อมบำรุง
6. วิศวกรโลจิสติกส์
7. รับราชการ
8. อาชีพอิสระที่ตรงสาขา

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษารหัส 66 เป็นต้นไป (เหมาจ่ายเป็นรายภาคการศึกษา)

นักศึกษาภาคปกติ
ภาคการศึกษาปกติ 16,000 บาท ภาคการศึกษาฤดูร้อน 8,000 บาท

หมายเหตุ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรื่อง อัตราการเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2565

ข้อ 6 นักศึกษาทุกหลักสูตร ทุกระดับการศึกษา ทั้งนักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษ ที่ลงทะเบียนรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/ฝึกงาน/สหกิจศึกษา/ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพียงรายวิชาเดียวตลอดภาคการศึกษา โดยไม่ได้ลงทะเบียนรายวิชาอื่นในภาคการศึกษานั้น ให้ชำระเงินค่าบำรุงการศึกษาเหมาจ่ายดังนี้
6.1 ภาคการศึกษาปกติ ภาคการศึกษาละ 9,000 บาท
6.2 ภาคการศึกษาฤดูร้อน ภาคการศึกษาละ 6,000 บาท

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 72,000 บาท

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 9,000 บาท

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน 4,500 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 144 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาทั่วไป
30 หน่วยกิต
1. วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ 24 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาสุขภาพ 3 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาบูรณาการ 9 หน่วยกิต
2. วิชาศึกษาทั่วไปเลือก 6 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ
108 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 41 หน่วยกิต
1.1 วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 17 หน่วยกิต
1.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 24 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะด้าน 67 หน่วยกิต
2.1 วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 58 หน่วยกิต
2.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 9 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
6 หน่วยกิต

 

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง สถานะ รายละเอียด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพจน์ ศิริรักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์นิวัฒน์ชัย ใจคำ อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์อมรรัตน์ ปิ่นชัยมูล อาจารย์์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

หมวดหมู่ข่าว
ข่าวสารล่าสุด