ENG CR :
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เป็นที่พึ่งของสังคม

แผนผังเว็บไซต์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

โทรศัพท์

053-723-979 สนง.คณะฯ 5992

99 หมู่ 10 ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย 57120

สำหรับนักศึกษารหัส 65 เป็นต้นไป วศ.บ.วิศวกรรมโยธา

สำหรับนักศึกษารหัส 65 เป็นต้นไป วศ.บ.วิศวกรรมโยธา

 

หลักสูตรวิศวกรรมโยธา

ข้อมูลปีการศึกษา 2565
คณะของหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering
ชื่อหลักสูตร (เต็ม ไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
ชื่อปริญญา (เต็ม Eng) Bachelor of Engineering (Civil Engineering)
ชื่อปริญญา (เต็ม ไทย) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
ชื่อปริญญา (ย่อ Eng) B.Eng. (Civil Engineering)
ชื่อปริญญา (ย่อ ไทย) วศ.บ.
ระยะเวลาของหลักสูตร ศึกษาปกติ 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งพัฒนาวิชาการควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อผลิตวิศวกรนักปฏิบัติที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี มีจรรยาบรรณในวิชาชีพและพึ่งพาตนเองได้

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตวิศวกรโยธานักปฏิบัติที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ และนวัตกรรมสู่วิสาหกิจชุมชน
2. เพื่อผลิตบันฑิตที่มีความรู้และทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรมโยธา
3. เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ไปพัฒนาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อฝึกให้บัณฑิตวิศวกรโยธาเป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความสำนึกในจรรยาบรรณในวิชาชีพ

 

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1.รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างโยธา ได้แก่ สาขาวิชาช่างก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างสำเร็จ ช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม สาชาวิชาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ และให้เป็นไปตามระเบียบหรือประกาศรับสมัครของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาชาวิชาช่างก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างสำรวจ เทคโนโลยีขนส่ง การบริหารงานก่อสร้าง ช่างเขียนแบบโยธา และมีคุณวุฒิ ปวช.สาขาช่างก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างสำรวจ ช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม สาขาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ หรือเทียบเท่าหรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างสำรวจ เทคโนโลยีขนส่ง การบริหารงานก่อสร้าง ช่างเขียนแบบโยธา และจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าการด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และตามที่มีประกาศเพิ่มเติม และสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่เรียนหลักสูตรระบบทวิภาค ต้องเรียนปรับพื้นฐานตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด

 

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. วิศวกรโยธาในหน่วยงานเอกชน
2. รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทเทศบาล
3. กรมชลประทาน กรมที่ดิน เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมศิลปากร การประปา การไฟฟ้า การรถไฟ
4. วิศวกรในสายงานแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) BIM Engineer, Virtral Desing and Construction Engineer, BIM Modeler และ BIM Coordinator
5. อาจารย์นักวิจัยด้านวิศวกรรมโยธาหรือนักถ่ายทอดเทคโนโลยี
6. ผู้ประกอบการอิสระ เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง วิศวกรคุมงาน วิศวกรออกแบบโครงสร้าง เป็นต้น
7. ผู้ผลิต ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย ผลิตวัสดุ อุปกรณ์ในการก่อสร้าง เช่น กระเบื้องหลังคา อิฐ บล็อคประสาน อิฐมวลเบา คอนกรีตสำเร็จรูป เป็นต้น
8. ผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ (Startup) ที่ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับ บ้าน อาคาร และที่พักอาศัย เช่น ผู้ประกอบการบริการด้านก่อสร้างแบบครบวงจร ผู้ประกอบการรับตรวจสอบ ดูแลบ้าน เป็นต้น

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษารหัส 66 เป็นต้นไป (เหมาจ่ายเป็นรายภาคการศึกษา)

นักศึกษาภาคปกติ
ภาคการศึกษาปกติ 16,000 บาท ภาคการศึกษาฤดูร้อน 8,000 บาท

หมายเหตุ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรื่อง อัตราการเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2565

ข้อ 6 นักศึกษาทุกหลักสูตร ทุกระดับการศึกษา ทั้งนักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษ ที่ลงทะเบียนรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/ฝึกงาน/สหกิจศึกษา/ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพียงรายวิชาเดียวตลอดภาคการศึกษา โดยไม่ได้ลงทะเบียนรายวิชาอื่นในภาคการศึกษานั้น ให้ชำระเงินค่าบำรุงการศึกษาเหมาจ่ายดังนี้
6.1 ภาคการศึกษาปกติ ภาคการศึกษาละ 9,000 บาท
6.2 ภาคการศึกษาฤดูร้อน ภาคการศึกษาละ 6,000 บาท

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 72,000 บาท

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 9,000 บาท

 ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน 4,500 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 146 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาทั่วไป
30 หน่วยกิต
1. วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ 24 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาสุขภาพ 3 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาบูรณาการ 9 หน่วยกิต
2. วิชาศึกษาทั่วไปเลือก 6 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ
110 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 48 หน่วยกิต
1.1 วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 20 หน่วยกิต
1.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 28 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 53 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 9 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
6 หน่วยกิต

 

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง สถานะ รายละเอียด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จารย์ ดร.รัฐพล เกติยศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงศ์พันธุ์ กาญจนการุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ ดร.อังกูร ว่องตระกูล อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย อำนวยพรเลิศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคลกร ศรีวิชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ปัญญาทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ผู้สอน View
อาจารย์จตุรงค์ คำขาว อาจารย์ อาจารย์ผู้สอน View
อาจารย์เอกวัฒน์ ญาณะวงษา อาจารย์ อาจารย์ผู้สอน View
อาจารย์ดาวิตร ทารัตน์ อาจารย์ อาจารย์ผู้สอน View
อาจารย์ภัทรมน วงศ์ราษฎร์ อาจารย์ อาจารย์ผู้สอน View
อาจารย์ ดร.นฤนาท เหมะ อาจารย์ อาจารย์ผู้สอน View
อาจารย์ ดร.อรสา ธรรมสรางกูร อาจารย์ อาจารย์ผู้สอน View

หมวดหมู่ข่าว
ข่าวสารล่าสุด